ประกันภัยการก่อการร้าย ภัยจลาจล และ ความรุงแรงทางการเมือง

1693 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประกันภัยการก่อการร้าย ภัยจลาจล และ ความรุงแรงทางการเมือง

 

ประกันภัยการก่อการร้าย ภัยจลาจล และ ความรุงแรงทางการเมือง

Terrorism & Political Violence Insurance

ทำไมต้องทำประกันภัยการก่อการร้าย  

   1. สืบเนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่เป็นการรวมกลุ่มของบุคคล ที่หวังผลทางการเมืองกลุ่มต่างๆ หรือแม้กระทั่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ

       ที่ส่งผลต่อบริษัท ทำให้มีการนัดหยุดงาน ก่อจราจล และอื่น ๆ

   2. เป็นการโอนและกระจายความเสี่ยงภัย เพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจกระทบต่อฐานะทางการเงิน ( Financial Stability & Solvency)

       และทำให้ยอดค่าสินไหมมีการแกว่งตัวน้อยลง ( Stabilize the underwriting result)

 คุ้มครองมากสุดถึง 8 เหตุการณ์
  • การก่อการร้าย
  • การนัดหยุดงาน, การประท้วง, การก่อความวุ่นวาย
  • การก่อกบฏ, การปฏิวัติ
  • สงคราม และ/หรือ สงครามกลางเมือง
  • การก่อวินาศกรรม
  • การกระทำการรุนแรง
  • การก่อการรัฐประหาร
  • ความเสียหายที่เกิดจากการปราบผู้ต่อต้านรัฐบาล
 การกระทำการก่อการร้าย :

 การกระทำก่อการร้าย หมายถึง การกระทำซึ่งใช้กำลัง หรือความรุนแรง หรือ มีการข่มขู่โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยลำพัง หรือ การกระทำแทน

หรือเกี่ยวเนื่องกับองค์กรใด หรือรัฐบาลใดๆ ซึ่งกระทำการเพื่อหวังผลทางการเมือง ศาสนา ลัทธินิยม หรือจุดประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งเพื่อต้องการส่งผลให้รัฐบาล

หรือสาธารณะชน หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสาธารณะชนตกอยู่ในภาวะตื่นตระหนกหวาดกลัว (เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ได้มีการเตรียมการให้สังคมทราบมาก่อน)

 การก่อวินาศกรรม
 การก่อวินาศกรรม หรือการกระทำที่มุ่งประสงค์ร้ายเพื่อจะขัดขวางการดำเนินการทางการค้าและบริการตามปรกติวิสัยหน่วงเหนี่ยวการติดต่อสื่อสาร
 การก่อการจราจล
 การก่อการจราจลโดยกลุ่มบุคคลเพื่อจุดประสงค์ในการก่อความวุ่นวายและการทำให้สาธารณะชนตกอยู่ในภาวะตื่นตระหนก หวาดกลัว
 การหยุดงานประท้วง
 การหยุดงานประท้วยง หรือการนัดหยุดงาน เพื่อเรียกร้อง
 การกระทำการรุนแรง
 การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล
 การตั้งใจทำร้าย หรือ การกระทำผิดกฏหมาย
 การตั้งใจทำร้าย หรือ การกระทำผิดกฏหมาย เพื่อผลทางการเมือง ศาสนา ลัทธินิยม หรือจุดประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน โดยเหตุมาจากปฏิปักษ์ และศัตรู
 การกบฏ การก่อปฏิวัติ จราจล

 การกบฏ การก่อปฏิวัติ จราจล หมายถึงการล้มล้างอำนาจที่ผิดกฏหมาย การกระทำรุนแรงอย่างอย่างทันทีทันใดของรัฐบาล

 (ของผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ หรือกษัตริย์) หรือความพยายามที่จะล้มล้างแต่ กระทำการไม่สำเร็จ

 การรัฐประหาร

 การรัฐประหาร หมายถึงการใช้กำลัง เพื่อเปลี่ยนแปลงผู้นำรัฐบาล โดยระบอบการปกครองเดิม เช่น การรัฐประหารสมัย จอมพล แปลก พิบูลสคราม

 หรือสมัย พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ และครั้งที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ เมื่อคืนที่ 19 กันยายนนี้ ซึ่งจะเห็นว่าเปลี่ยนแปลงเฉพาะคณะรัฐบาลเท่านั้น

 โดยประเทศไทยยังคงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขเช่นเดิม

สงคราม 

สงคราม หมายถึงการท้าทายโดยการใช้กำลังของคนสองฝ่ายของผู้ปกครองสูงสุดของประเทศหรือมากกว่า โดยวัตถุประสงค์ กองกำลังขัดแย้งกัน

หรือเปิดเผย หรือไม่เปิดเผย ต่อกองกำลังของฝ่ายที่ปกครองประเทศ

สงครามกางเมือง 

สงครามกางเมือง หมายถึง สงครามที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนชาติเดียวกันในประเทศต่างๆ และเป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน

 ความคุ้มครอง 
  • คุ้มครองความสูญเสียทางกายภาพ หรือความเสียหายทางกายภาพต่ออาคาร ส่วนประกอบของอาคารที่เป็นของผู้เอาประกันภัย หรือในทรัพย์ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบตามกฏหมาย ที่เป็นผลโดยตรงจากบุคคล หรือกลุ่มบุคคล โดยเป็นภัยที่ระบุความคุ้มครองตามที่ผู้เอาประกันภัยได้ซื้อไว้และต้องเกิดภายในระยะเวลาเอาประกันภัย
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อผู้เอาประกันภัย ในการเคลื่อนย้ายซากทรัพย์
  • ผู้รับประกันภัยจะไม่รับผิดชอบความเสียหายใดๆ ที่เป็นส่วนที่เกินวงเงินของกรมธรรม์ประกันภัย

 ความเสียหาย หรือการเกิดเหตุ

    หมายถึง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจาก และโดยตรงจากการกระทำ หรือลำดับการก่อการร้าย เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน ระยะเวลา และขอบเขตการเกิดเหตุแต่ครั้ง

    ระหว่างช่วงเวลา 72 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน

     สอบถามข้อมูลติดต่อเรา : 095 952 6514
     

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้