ประกันภัยค้ำจุน

1908 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Golf

| การประกันภัยค้ำจุนในสัญญาประกันภัย
    การประกันภัยค้ำจุน หรือที่รู้จักคุ้นเคยในชื่อว่า
  •    " การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก" หรือ
  •    " การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลที่สาม"
ซึ่งให้ความคุ้มครองความรับผิดตาม กฎหมายของผู้เอาประกันภัยเวลาที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ทั้งในเรื่องของทรัพย์สิน หรือในเรื่องของชีวิต
ร่างกายของบุคคลอื่น
การประกันภัยค้ำจุนส่วนใหญ่จะนิยมทำกันอยู่ใน "ประเภทการประกันภัยรถยนต์ "
ส่วนประเภทการประกันภัยอื่น เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นเป็นลำดับ ดังเช่นในการ


| ความหมายของการประกันภัยค้ำจุน
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรก ได้บัญญัติให้ความหมายของการประกันภัยค้ำจุน เอาไว้ว่า
    "อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศอันเกิดขึ้นบุคคลอีกบุคคลหนึ่ง             และ  ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะตั้งรับผิดชอบ

| ความหมายของการประกันภัยค้ำจุน
การประกันภัยค้ำจุนจึงหมายความถึง การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก หรือต่อบุคคลที่สาม เนื่องจากสัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นสัญญา
ระหว่างผู้เอาประกันภัย “บุคคลที่หนึ่ง” กับผู้รับประกันภัย “บุคคลที่สอง” ซึ่งมาตกลงกันว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยบุคคลที่หนึ่งไปท าความเสียหายต่อชีวิต
ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เรียกเป็น “บุคคลที่สาม” อันผู้เอาประกันภัยจ าต้องรับผิดตามกฎหมาย ก็ให้ผู้รับประกันภัยบุคคลที่สอง
ช่วยไปค้ำจุนให้ ด้วยการไปชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ บุคคลที่สามผู้เสียหายในนามของผู้เอาประกันภัยด้วย

| ความหมายของการประกันภัยค้ำจุน
   สาเหตุที่เรียกเป็นบุคคลที่หนึ่ง สอง และสามนั้น เนื่องจากในอดีต ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ริเริ่มไปขอซื้อ ประกันภัยโดยตรงกับผู้รับประกันภัย
   มากกว่าที่ผู้รับประกันภัยไปติดต่อชักชวนให้มาทำประกันภัย ดังนั้น ในการประกันภัยทรัพย์สิน บางครั้งจะเรียกว่า
   “การประกันภัยสำหรับบุคคลที่หนึ่ง (First-party Insurance)” เพื่อแสดงว่าบุคคลที่หนึ่งจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน
   ที่นำมาทำประกันภัยไม่อาจนำเอาทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่ตนมิได้ มีส่วนได้เสียมาทำได้ หากจะกระทำ ก็ด้วยการทำเป็นการประกันภัยความรับผิด
   ต่อบุคคลที่สามเท่านั้น

 | ข้อแตกต่างที่สำคัญจากสัญญาประกันภัยอื่น
     สัญญาประกันภัยค้ำจุน หรือการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกมีข้อแตกต่างที่สำคัญ จากสัญญาประกันภัยอื่นทั่วไป ดังนี้
     -  เป็นสัญญาประกันภัยที่กำหนดให้ผู้รับประกันภัยรับผิดในนามของผู้เอาประกันภัยสัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นสัญญาที่กำหนดให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดใน
        นามของผู้เอาประกันภัย อันเนื่องมาจากการกระทำผิดของ ผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก
  | ข้อแตกต่างที่สำคัญจากสัญญาประกันภัยอื่น
      -  มีวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นความรับผิดตามกฎหมายสัญญาประกันภัยอื่นทั่วไปนั้น ผู้เอาประกันภัยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้รับประกันภัยคุ้มครองความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น             แก่ทรัพย์สินหรือชีวิตร่างกายที่ตนเองมีส่วนได้เสียอยู่โดยมีวัตถุที่เอาประกันภัย คือ ทรัพย์สินหรือชีวิตร่างกายของผู้เอาประกันภัย ขณะที่สัญญา ประกันภัย ค้ำจุน                       วัตถุประสงค์ของผู้เอาประกันภัยต้องการให้ผู้รับประกันภัยเข้ามาคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของตน เวลาที่ไปก่อให้เกิดความเสียหาย
         แก่บุคคลอื่นใดไม่ว่าจะเป็นแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือกระทั่งความสูญเสีย หรือ ความเสียหายแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกนั้นก็ตามดังนั้น
         วัตถุที่เอาประกันภัย คือความรับผิดตามกฎหมาย นั่นเอง

| ข้อแตกต่างที่สำคัญจากสัญญาประกันภัยอื่น
    - เป็นความรับผิดตามกฎหมายที่กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบโดยหลักกฎหมายจะบัญญัติให้บุคคลต้องใช้สิทธิของตนโดยสุจริต
      และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายเหล่านั้นบัญญัติไว้มิฉะนั้นแล้วบุคคลนั้นอาจมีความรับผิดตามกฎหมายขึ้นมาได้ ดังนั้น หากผู้เอาประกันภัย
      ละเลย หรือทำหน้าที่ตามกฎหมายของตนไม่ดีพอ เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอก ตนก็จ าต้องรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย
     "ตัวอย่างเช่น ผู้ว่างจ้างทำของซึ่งผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องใช้ความระมะดระวังในการคัดเลือกผู้รับเหมาดังกล่าว หรือในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือคำสั่งที่ตนให้ไว้ ดังที่          บัญญัติไว้ในประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 หรือผู้เอาประกันภัยซึ่ง เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างที่ต้องบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างนั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฏ          หมายแพงพาณิชย์ มาตรา 434 หรือผู้เอาประกันภัยซึ่งเป้นผู้ใช้รถยนต์มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควร งที่บัญญัติไว้ในประมวลกฏหมายแพงพาณิชย์                        มาตรา 437 เป็นต้น

| ข้อแตกต่างที่สำคัญจากสัญญาประกันภัยอื่น
    - ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เกินกว่าความรับผิดของตนภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย หรือตามกรมธรรม์ประกันภัยของผู้ รับประกันภัยจำกัดอยู่เพียง        ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ได้ตกลงกันไว้กับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
    -  ผู้เอาประกันภัยยังจำต้องรับผิดในเงินที่ขาดอยู่เมื่อค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับมาจากผู้รับประกันภัยนั้นไม่เพียงพอแก่ความเสียหายที่เกิดขึ้น บุคคลภายนอก
       ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้เอาประกันภัยรับผิดในจำนวนเงินที่ขาดอยู่ได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกผู้เสียหายมิได้เรียกผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดี
       ที่ฟ้องเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยรับผิด
| ข้อแตกต่างจากหลักการรับช่วงสิทธิ
   การประกันภัยค้ำจุนหรือการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกแตกต่างจากการรับช่วง สิทธิตรงที่ว่า สำหรับการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายนั้น ผู้เอา     ประกันภัยเป็นผู้ที่กระทำความผิดต่อบุคคลภายนอกเสียเอง หรือผู้เอาประกันภัยจำต้องรับผิดแทนบุคคลอื่นตามบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ลูกจ้างกระทำผิดใน ทางการที่จ้าง     นายจ้างต้องรับผิดแทน ตัวการต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน หรือบิดามารดารับผิดในการกระท าของบุตรผู้เยาว์ เป็นต้น ในการไปสร้างความเสียหายให้แก่บุคคล     ภายนอกจึงให้ผู้รับประกันภัยของตนมาค้ำจุน ให้ด้วยการไปชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกนั้นในนามของตนเองแทน

| ข้อแตกต่างจากหลักการรับช่วงสิทธิ
    ส่วนการรับช่วงสิทธิเป็นกรณีกลับกัน คือ บุคคลภายนอกมาทำความเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นความรับผิดตามกฎหมายของบุคคลภายนอกที่จะต้อง
    ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนั้น แต่ผู้เอาประกันภัยเลือกที่จะไม่ไปเรียกร้องเอาจากบุคคลภายนอกนั้นเอง โดยที่เลือกไปเรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัยของ        ตน ให้ทำการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนแทน เช่นนี้ กฎหมายให้สิทธิแก่ผู้รับประกันภัยในการสวมสิทธิของผู้เอาประกันภัยนั้นไปเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ตนได้จ่ายไป          แล้วกลับคืนมาจากบุคคลภายนอกผู้กระทำความผิดนั้น 'ตัวอย่าง เช่น รถยนต์ของบุคคลภายนอกโดยประมาทเลินเล่อเสียหลักแล่นไปชนท้ายนถของผู้เอาประกันภัยได้รับ            ความเสียหายเมื่อผู้เอาประกันภัยเรียกให้ผู้รับประกันภัยของตนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งให้ความคุ้มครองแก่รถยนต์คันนั้นอยู่มาชดใช้มาชดใช้สินไหมทดแทนแก่        ตนแล้วผู้รับประกันรายนั้นก็สามารถรับช่วงสิทธิ์ ของผู้เอาประกันภัยนั้นไปเรียกร้องคาสินไหมทดแทนที่ตนได้
    จ่ายไปกลับคืนมาจากบุคคลภายนอกผู้กระทำดังกล่าว เป็นต้น"

| ข้อแตกต่างจากสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
   จากบทบัญญัติในกฎหมายมาตรานี้จะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกับสัญญาประกันภัยค้ำจุนเพราะบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้เหมือนกัน หากแต่สัญญาประกันภัยค้ำจุน     มีข้อแตกต่างกับสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 นี้ ในข้อที่ว่าผู้รับประกันภัยตกลง
   จะใช้ค่า สินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเป็นทำนองชดใช้แทนผู้เอาประกันภัย เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย จึงมิใช่สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคล     ภายนอกเพราะบุคคลภายนอกผู้ที่ได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนอยู่แล้ว
| สนใจทำประกันภัยค้ำจุนติดต่อ
สำนักงาน แอสอินไลฟ์ โบรคเกอร์
สำนักงาน GA-9M พัฒนศักดิ์ สายศรี
โทร : 095 952 6514
Line OA :@088wfvaj
https://lin.ee/HJ6NMOm
ประกันภัย ง่ายครบ จบที่เรา

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้