ดื่มแอลกอฮอล์เท่าไหร่ถึงเรียกว่าเมาแล้วขับ |
|กฎหมายเมาแล้วขับ มีโทษอย่างไร? |
บทลงโทษกรณีเมาแล้วขับ หนักหรือเบา แล้วแต่ในกรณีไป ซึ่งแบ่งโทษไว้ดังนี้ | |
- กรณีกระทำผิดเมาแล้วขับ ครั้งแรก จะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
| |
- กรณีกระทำผิดซ้ำในข้อหาเมาแล้วขับ ภายในระยะเวลา 2 ปี จะเพิ่มอัตราโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับตั้งแต่ 50,000 - 100,000 บาท โดยศาลจะลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ ถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่ ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565
| |
- กรณีเมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ จะถูกระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 5 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท และถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่
| |
- กรณีเมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จะถูกระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 6 ปี ปรับตั้งแต่ 40,000 - 120,000 บาท และให้ศาลพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่
|
- กรณีเมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จะถูกระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที
|
|
| ปริมาณแอลกอฮอล์เท่าไหร่ ถึงถูกโทษเมาแล้วขับ |
เป่าแอลกอฮอล์เท่าไร ถึงมีโทษเมาแล้วขับ ตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่าเมาสุรา ยกเว้นผู้ขับขี่ใน 4 กรณีต่อไปนี้ ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่าเมาสุรา |
- ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
- ผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ เช่น มือใหม่ใบอนุญาตขับขี่ยังไม่ถึง 2 ปี
- ผู้ขับขี่ซึ่งมีใบอนุญาตขับขี่สำหรับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้
- ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรืออยู่ระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่บุคคลที่มีใบขับขี่ตลอดชีพหรือใบขับขี่ 5 ปี และมีอายุเกิน 20 ปี ถือว่าเมาแล้วขับ
|
|
สอบถามข้อมูลประกันภัย สำนักงานแอสอินไลฟ์โบรคเกอร์ โทรศัพท์ : 095 952 6514 LineOA:@asinlife https://lin.ee/BCezRtB ประกันภัย ง่ายครบ จบที่เรา |
| ประกันภัยรถยนต์2+คุ้มครองรถพลิกคว่ำ | ประกันภัย พรบ.กฏหมายบังคับ | ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจออนไลน์ | ประกันมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ |