5168 Views |
การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก Liability Insurance ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก คุ้มครองความบาดเจ็บทางร่างกายหรือเสียชีวิต และ/หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระยะเวลาเอาประกันภัย และเกิดขึ้นในสถานที่เอาประกันภัยของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นผลมาจากความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย หรือความบกพร่องของ สถานประกอบการรวมถึงค่าใช้จ่ายทางกฎหมายที่เกิดขึ้นด้วย | |
ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก เหมาะกับใคร? - โรงงานอุตสาหรรม - โรงงานขนาดย่อม - โรงพยาบาล - สถานพยาบาล - Shopping Mall - โรงแรม คอนโด อาพาร์ทเมนท์ - สถานบริการอื่น ๆ - ธุรกิจการอื่น ๆ | |
ความรับผิดที่เอาประกันภัยได้ จะต้องเป็นความรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้เอาประกันภัยจึงจะถือว่ามีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้ ในบางครั้งผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้ก่อให้เกิด ความเสียหาย แต่ในทางกฎหมายผู้เอาประกันภัยจำเป็นต้องรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกด้วย เช่น บิดามารดาต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำของบุตรที่ได้ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นต้น เกี่ยวกับความรับผิดมีวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นความรับผิดของผู้เอาประกันภัย | |
การประกันภัยความรับผิดชอบของบุคคลต่อบุคคลอื่น
เสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในสถานที่ของผู้เอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น การประกันภัยความรับผิดชอบส่วนบุคคล เป็นต้น | |
การประกันภัยความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะต่อบุคคลอื่น เป็นการประกันความรับผิดทางแพ่งต่อความสูญเสีย หรือค่าใช้จ่ายอันเป็นผลมาจากการให้บริการทางวิชาชีพเฉพาะด้าน เช่น แพทย์ เภสัชกร สถาปนิก วิศวกร ทนายความ นักบัญชี ผู้ให้การรับรองมาตรฐาน นักประเมินราคา เป็นต้น ซึ่งอาชีพเหล่านี้มีโอกาสถูกฟ้องร้องดำเนินคดีสูงจากลูกค้าหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการคำปรึกษา แม้ว่าวิชาชีพ เหล่านี้ได้ให้บริการและปฏิบัติตามวิชาชีพอย่างสุจริตแล้วก็ตาม เช่น การประกันภัยความรับผิดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ เป็นต้น 3. การประกันภัยความรับผิดชอบของธุรกิจต่อบุคคลอื่น | |
การประกันภัยความรับผิดชอบของธุรกิจต่อบุคคลอื่น • ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก คุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี อันเกิดจากความประมาทของผู้ประกอบการ เช่น การประกันภัยความรับผิด ของกรรมการและเจ้าหน้าที่, การประกันภัยความรับผิดของนายจ้าง, การประกันภัยความรับผิดเนื่องจากมลภาวะ และการประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ เป็นต้น • ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 คุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและคลังน้ำมันเชื้อเพลิงจากความเสียหาย ต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก • ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากความบกพร่องฯ ในฐานะผู้ตรวจสอบอาคาร ได้แก่ การประกันภัยสำหรับผู้ตรวจสอบอาคาร คุ้มครองความสูญเสียต่อร่างกายและ/หรือความเสียหายต่อ ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกจากอุบัติเหตุ ขณะที่ผู้เอาประกันภัยทำการตรวจสอบอาคาร หรือเกิดขึ้นจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานของผู้เอาประกันภัยที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน • ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก คุ้มครองความรับผิดตามกฎหมาย กรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งวัตถุอันตรายเกิดอุบัติเหตุและทำให้เกิดความสูญเสียหรือ ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินต่อบุคคลภายนอก | |
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน
สัมพันธ์ใดๆ กับผู้เสียหายก็ตาม 2. ความรับผิดต่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจะต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันไม่คาดคิด ไม่ได้เกิดขึ้นโดยเจตนาแต่เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่อ ของผู้เอาประกันภัย 3. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายหรือบุคคลภายนอก เฉพาะจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ถ้าเป็นความผิดอื่นๆ ที่ไม่มีกฎหมายรองรับ บริษัท ประกันภัยก็ไม่มีภาระผูกพันต้องจ่าย 4.บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย ต้องเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ไม่ใช่บุคคลในครอบครัว ไม่ใช่บุคคลที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมกับ กิจการของผู้เอาประกันภัย รวมถึงไม่ใช่ลูกจ้างหรือบุคคลที่อยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานให้ผู้เอาประกันภัย 5.บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ ที่เรียกว่า “จำนวนเงินจำกัดความรับผิด” | |
ติดต่อเรา : | 095 952 6514 |
ไลน์ ไอดี : | @asinlife |
ขอข้อเสนอประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก | |
กฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการ ต้องทำการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกพ.ศ. ๒๕๔๘ |