250 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ไม่ว่าเราจะเป็นคนขับ ผู้โดยสารหรือผู้เห็นเหตุการณ์ เราควรปฎิบัติอย่างไร..? |
กรณีเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ |
กรณีท่านเป็นคนเจ็บเพราะรถชน ท่านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 1. สิ่งแรกคือท่านจะต้องขอร้องให้คนอื่น หรือตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ที่สุดเพื่อช่วยชีวิตเขาไว้ก่อน ส่วนเรื่องคดีนั้นเอาไว้พิจารณาภายหลัง แต่ถ้าเจ็บเล็กน้อยพอยอมความได้ก็ยอมเสีย เพื่อมิให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ แต่จะต้อง พยายามขอชื่อหรือจำทะเบียนรถคันที่ชนเราไว้ให้ได้ เพราะถ้าหากผู้ขับขี่เบี้ยวเราภายหลัง เราจะได้จัดการเรียกค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย มิฉะนั้นแล้วจะไม่รู้ว่าจะไปฟ้องร้องเขาจากใคร ที่ไหน |
กรณีท่านเป็นคนขับ ถ้าท่านเป็นคนขับรถชนกัน สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ อย่าหนีเป็นอันขาด เพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้น ไม่ใช่ เรื่องเจตนา ผู้กระทำผิดไม่ใช่อาชญากร โทษก็ไม่มากมายอะไร ควรจะอยู่เพื่อต่อสู้กับความจริง มิฉะนั้นท่านจะต้องหลบหนี นานถึง 15 ปี ถ้าท่านขับรถชนคนตาย แต่ถ้าท่านมอบตัวสู้คดี บางทีท่านก็ไม่มีความผิด หรือมีความผิดศาลก็ปรานีลดโทษให้ถ้าท่านเป็นคนดีมีน้ำใจ |
หน้าที่ของคนขับรถเมื่อเกิดรถชนกันนั้น กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
|
กรณีรถท่านมีประกันท่านตัองรีบติดต่อกับบริษัทประกันของท่านทันที เพราะบริษัทประกันเขาจะมีเจ้าหน้าที่มาตามที่เกิดเหตุ พร้อมทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมมูลเพื่อเอาไว้ต่อสู้คดี |
กรณีมีกล้องถ่ายรูปหรือหากล้องถ่ายรูปใกล้ที่เกิดเหตุได้ต้องรีบถ่ายรูปรถ และที่เกิดเหตุไว้ให้พร้อม เพื่อจะได้เก็บไว้เป็นหลักฐานการต่อสู้คดีต่อไป และหากมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิปอเต็กตึ้งหรือมูลนิธิร่วมกตัญญูถ่ายภาพศพหรือที่เกิดเหตุไว้ ก็ให้ติดต่อขอภาพที่ถ่ายเก็บไว้ให้ได้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีในภายหลัง |
ควรช่วยเหลือคนเจ็บหรือค่าทำศพของผู้เสียชีวิต |
- เราขับรถชนคนบาดเจ็บไปโรงพยาบาลต่อมาอัยการฟ้องเราต่อศาลเราก็แถลงต่อศาลว่าเราช่วยเหลือคนเจ็บ ส่งโรงพยาบาล ส่วนมาก ศาลจะเห็นว่า เราเป็นคนดีมี น้ำใจศาลก็อาจจะรออาญาให้เราโดยไม่จำคุกเราแต่ถ้าเราชนแล้วหนีส่วนมากศาลมักจะจำคุกเราเลย เพราะเห็นว่าเราเป็นคนแล้งน้ำใจ |
- การตกลงใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บก็มีประโยชน์มากยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่พยายามตกลงใช้ค่าเสียหายให้กับคนเจ็บ ตำรวจเขาจะมีระเบียบไว้ว่า ไม่ให้คืนรถของกลาง ให้แก่ผู้ต้องหาจนกว่าผู้ต้องหาจะพยายามตกลงกับฝ่ายผู้เสียหาย และถ้าหาก เราชดใช้ค่าเสียหาย จ่ายค่าทำศพให้เขา คดีแพ่งก็ระงับ เพราะถือว่า ยอมความคดี แพ่งกันแล้ว จะฟ้องเรียกค่าเสียหายเราในทางแพ่งไม่ได้อีกแล้ว และถ้าเราถูกฟ้อง คดีอาญาต่อศาล ผู้เสียหาย จะมาแถลงต่อศาลว่า เราได้ชดใช้ค่าเสียหายให้เขา แล้ว ส่วนมากแล้ว ศาลจะปรานีจำเลย โดยตัดสินให้รออาญาแก่จำเลย เห็นหรือยังว่า การช่วยเหลือคนเจ็บและการมีน้ำใจนั้นดีอย่างไร (เครดิตข้อมูล:วิริยะประกันภัย) |
|ตรวจสอบกรมธรรม์ พ.ร.บ. (สำหรับลูกค้าวิริยะประกันภัย) |ตรวจสอบกรมธรรม์ ภาคสมัครใจ (สำหรับลูกค้าวิริยะประกันภัย) |